วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กลอนไหว้ครู
















“ครูเปรียบเหมือนพ่อแม่คนที่สอง


คอยปกป้องชี้นำทางอย่างสร้างสรรค์


ให้เราเดินถูกทางทุกคืนวัน


ให้เรานั้นก้าวต่อไปอย่างชัยชาญ




เสียงพร่ำสอนดังแว่วดังฟังรื่นหู


ท่านเป็นผู้สอนให้เรานั้นกล้าหาญ


เกิดปัญญาวิจารณญาณ


ขอกราบกรานบูชาครูด้วยดวงใจ”






(นางสาว มณีนุช ทิพย์พรม รปศ 531 เลขที 26)

ทฤษฎีXและทฤษฎีYกับสังคมไทย

- การที่ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีxและy สามารถแยกได้ว่าทั้งสองทฤษฎีนี้มีความแตกต่างกันอย่างมาก
- สำหรับดิฉันคิดว่าทฤษฏีxก็เปรียบเสมือนคนที่ขี้เกียจขาดความทะเยอทะยานและเห็นแก่ตัว บุคคลเหล่านี้จึงจัดอยู่ในกลุ่มที่สังคมไม่ยอมรับจึงทำให้คนเหล่านี้เข้ากับสังคมได้ยาก ส่วนทฤษฏีy ก็เปรียบเสมือน คนที่มีความรับผิดชอบ มีความเป็นผู้นำ และมีความขยัน บุคคลเหล่านี้ จึงเข้ากับสังคมได้ง่าย เป็นกลุ่มคนที่สังคมยอมรับ เปรียบเทียบได้กับการทำงานกลุ่มคือ x จะมีคนในกลุ่มที่ไม่ช่วยทำงานอะไร ส่วนyจะมีคนที่ขยันคอยติดตามงานและชักชวนเพื่อนๆในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จ
-สรุปได้ง่ายๆคือทฤษฎีxเป็นการมองคนในด้านลบ ส่วนทฤษฎีyเป็นการมองคนในด้านบวก


นางสาว เสาวลักษณ์ ลิลา ห้องรปศ.531 เลขที่44

กลอนวันไหว้ครู

ครูคือผู้ให้ความรู้แก่ลูกศิษย์

ดั่งเข็มทิศชี้ทางสู่จุดหมาย

ที่พรั่งพรายดาวเด่นส่องประกาย

ให้พรั่งพรายส่องสว่างดังใจปอง

คำว่า ครู เปรียบเหมือนแม่คนที่สอง

ที่เฝ้าคอยช่วยเหลือประคับประตอง

ส่งลูกศิษย์ถึงฝั่งอย่างใจปอง

เราทั้งผองร่วมกันเคารพครู


(นายกตัญญุตา จารุจินดา รปศ.531 เลขที่ 1 )


กลอนวันไหว้ครู

... กลอนวันไหว้ครู ...

ครูคือผู้ให้ความรู้เเก่ลูกิษย์

ดั่งเเข็มทิศชี้ทางส่องจุดหมาย

ให้ลูกศิษย์มีความรู้พลั่งแพรวพราย

ส่องประกายดุจแสงดาวดังใจครู

สิบนิ้วน้อยพนมก้มกราบไหว้
ดังตั้งใจตั้งจิตอธิฐาน

ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกประการ

เเด่คุณครูผู้ไห้คราดแคร้วภัย
(โดยนางสาวพิมพ์ฤดี ช่างพูด รปศ531 เลขที่21)
หลักการบริหารของของลูเธอร์ กูลิก และลินดอน
การพระราชทานสิ่งของเเก่ประชาชน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่ิอช่วยเหลือประชาชนที่ ประสบภัยพิบัติ หรือตกทุกได้ยาก ให้มีความเป็นอยู่
ที่ดีขึ้น โดยการทำงานคล้ายตามหลักการบริหารของของลูเธอร์ กูลิก และลินดอน

โดยประสานงาน ให้นายขวัญเเก้ว วัชโรทัย ประธานมูลนิธิราชประชา
นุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้รับหน้าที่ให้พระราชทานสิ่งของ เเก่
นักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ทั้ง 42 โรง โดยต้องมีการประสานงานให้
ดีเพื่อไม่ก่อให้เกิดความยุ่งยาก

การทำงาน ต้องมีการทำงานที่เป็นระบบ มีเเบบเเผนที่ไม่ยุ่งยาก เพื่อให้ได้งาน
ที่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ตามจุดประสงค์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงดำรัสไว้

(โดยนางสาวพิมพ์ฤดี ช่างพูด รปศ 531 เลขที่21)
หลักการบริหารของของลูเธอร์ กูลิก และลินดอน
การทำธุรกิจเครือข่ายเเบบ Net work เป็นการทำงานที่สมบูรณ์แบบ มีการคาดเดาเหตุการไว้ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น เเล้วนำไปวางแผนการตลาด โดยทำงานกันเป็นทีม ต่อกันเป็นทอดๆ ตามหลักการบริหารของของลูเธอร์ กูลิก และลินดอน

บริษัท 2 บริษัทได้เชื่อตามคำทำนายของหมอดูว่าในอนาคต ธุรกิจที่ดีที่สุด
คือธุรกิจที่เกี่ยวกับความงาม เเละสุขภาพ จึงมารวมตัวกันและผลิตยาที่เสริมความงาม เเละบำรุงสุขภาพ โดยมีข้อกำหนดให้พนักงานทำงานกันเป็นกลุ่ม โดยที่คนหนึ่งจะ
ต้องหา ต่อๆกันไปอีก 5คน เเต่ทั้้ง5 คนจะต้องปิด 500 pv เเล้วเราจะได้เปอร์เซ็น
จากคนที่ 1=20% , 2=25% , 3=30% ,4=30% ,5=30% คิดเป็นเงิน 4200 บาทจากเเต่ละคน เเล้วจะได้จากลูกทีมคนอื่นๆอีก 5%เเละได้รับเงินตามตำเเหน่ง เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากหลัก พัน หมื่น เเสน ล้าน

การทำงานกับธุรกิจตัวนี้ ทำให้เราได้ทั้ง เงินดี เวลาดี สุขภาพดี ทำให้รู้จักการ
บริหารงาน การทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ โดยวิสัยทัศน์ที่ว่า
Happy life projact

(โดย นายกตัญญุตา จารุจินดา รปศ 531 เลขที่1)

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการจูงใจกับสุขวิทยา โดย เฟรดเดอริก เฮิร์กเบิร์ก

เฟรดเดอริก เฮิร์ซเบิร์ก
ทฤษฎีของ เฮิร์ซเบิร์ก เรียกว่า ทฤษฎีแห่งการจูงใจกับสุขวิทยา เป็นผลจากการที่เฮิร์ซเบิร์ก ได้ศึกษาความต้องการของบุคคลตามลำดับขั้นตามที่มาสโลว์ได้เสนอไว้ ความต้องการของคนงานในองค์กรหรือการจูงใจในการทำงาน ผู้บริหารสามารถที่จะควบคุมปัจจัยที่จะทำให้คนมีความพึงพอใจในการทำงานที่ทำได้
1. มีปัจจัยบางอย่างเกี่ยวกับงาน ปัจจัยที่กล่าวไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะจูงใจให้คนทำงานเพิ่มขึ้นอีก เฮิร์ซเบิร์ก เรียกปัจจัยเหล่านี้ว่า “ปัจจัยสุขวิทยา” ซึ่งเป็นปัจจัยที่ใช้บำรุงรักษาจิตใจ
2. มีปัจจัยเกี่ยวกับงานบางอย่าง เป็นสิ่งจูงใจหรือทำให้เกิดความพอใจในการทำงาน เรียกว่า “ปัจจัยจูงใจ” เป็นตัวกระตุ้นหรือจูงใจให้คนปฎิบัติงานให้ดีขึ้น




การศึกษาปัจจัยสุขวิทยา หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ปัจจัยค้ำจุน” จะช่วยป้องกันให้คนงานไม่เกิดความไม่พอใจในการทำงาน ส่วนปัจจัยจูงใจ จะทำให้คนงานมีความสุขหรือมีความพอใจในการปฎิบัติงาน ผู้บริหารจะต้องมีทัศนะที่เกี่ยวกับงานของผู้ใต้บังคับบัญชา 2 ประการ คือ สิ่งที่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสุขและสิ่งที่ทำให้เขาไม่มีความสุขในการทำงาน เฮิร์ซเบิร์ก ยังได้แนะนำวิธีปรับปรุงงาน การเพิ่มขยายงานและการหมุนเวียนสับเปลี่ยนตำแหน่งงาน




จากคำพูดที่ เฮิร์กเบิร์ก ได้กล่าวนั้นทำให้ข้าพเจ้าสรุปได้ว่า ปัจจุบันนี้มนุษย์มีการประกอบอาชีพมากมายหลากหลาย อาจแตกต่างกันไปตามความถนัดของแต่ละบุคคล ซึ่งมนุษย์ทุกคนย่อมต้องการอาชีพที่มั่นคง เป็นหลักเป็นฐาน มีค่าตอบแทนสูง มีความก้าวหน้า และเป็นที่ยอมรับทางสังคม เป็นที่นับหน้าถือตาในสังคม บางคนที่พอใจกับอาชีพ กับงานที่เป็นอยู่แล้ว แต่กลับไม่พอใจ ยังคิดที่จะกอบโกยผลประโยชน์จากผู้อื่น



(นางสาว สุรางคณา อรรถธรรม รปศ.531 เลขที่ 42)

ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการ อับราฮัม มาสโลว์

อับราฮัม มาสโลว์

จากคำพูดที่ อับราฮัม มาสโลว์ ได้กล่าวไว้นั้นทำให้ข้าพเจ้าได้นึกถึง ในปัจจุบันนี้ มนุษย์เราทุกคน ย่อมมีความโลภ ความต้องการที่ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่มักจะมีรสนิยมที่แตกต่างกัน มีความต้องการที่จะตามยุค ตามสมัยอยู่เสมอ และความต้องการเหล่านี้ก็อาจจะเป็นสิ่งที่เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันเรา ทำให้เกิดความอยากได้ อยากมี ความต้องการต่างๆ เป็นสิ่งกระตุ้นพฤติกรรมของมนุษย์อย่างเห็นได้ชัด เพราะถ้าหากเวลาที่เรามีความต้องการ อยากได้อยากมี เราก็จะพยายามทำทุกอย่าง เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของเราเอง และเมื่อเวลาที่เราประสบผลสำเร็จในสิ่งที่เราต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ง ความต้องการอย่างอื่นก็จะเพิ่มขึ้น

ในกรณีของข้าพเจ้า ตัวข้าพเจ้าเองก็ยอมรับว่า ตัวข้าพเจ้าเอง ก็มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด มีความอยากได้อยากมี ในชีวิตประจำวันของข้าพเจ้า คุณพ่อให้เงินค่าขนม เดือนละ 5000 แต่ข้าพเจ้าใช้ไม่พอ ข้าพเจ้ามีความต้องการ อยากได้สิ่งของมากมาย ข้าพเจ้าจึงหางานพิเศษทำ ข้าพเจ้ารับจ้างพิมพ์งาน เฝ้าร้านอินเตอร์เน็ตของที่บ้าน ข้าพเจ้าทำงานพิเศษมากมาย เพื่อที่จะนำเงินเดือนที่ได้มานำมาใช้จ่ายให้พอกับความต้องการของข้าพเจ้า แต่วิธีที่ประหยัดและช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อแม่ ที่ดีคือที่สุด คือ ประหยัด ใช้+ซื้อสิ่งของที่จำเป็น ไม่ใช้จ่ายฟุ้มเฟือย เป็นสิ่งที่ดีสุด

ดังนั้น สรุปได้ว่า มนุษย์เราทุกคนย่อมมีความต้องการที่แตกต่างกันเว้นแล้วแต่ความต้องการเหล่านั้น เราจะสามารถระงับมันได้หรือไม่ หรือปล่อยให้มันเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนเรา จนทำให้เราคิดว่าความต้องการเหล่านั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด





(นางสาว มณีนุช ทิพย์พรม รปศ 531 เลขที่ 26)