วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการจูงใจกับสุขวิทยา โดย เฟรดเดอริก เฮิร์กเบิร์ก

เฟรดเดอริก เฮิร์ซเบิร์ก
ทฤษฎีของ เฮิร์ซเบิร์ก เรียกว่า ทฤษฎีแห่งการจูงใจกับสุขวิทยา เป็นผลจากการที่เฮิร์ซเบิร์ก ได้ศึกษาความต้องการของบุคคลตามลำดับขั้นตามที่มาสโลว์ได้เสนอไว้ ความต้องการของคนงานในองค์กรหรือการจูงใจในการทำงาน ผู้บริหารสามารถที่จะควบคุมปัจจัยที่จะทำให้คนมีความพึงพอใจในการทำงานที่ทำได้
1. มีปัจจัยบางอย่างเกี่ยวกับงาน ปัจจัยที่กล่าวไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะจูงใจให้คนทำงานเพิ่มขึ้นอีก เฮิร์ซเบิร์ก เรียกปัจจัยเหล่านี้ว่า “ปัจจัยสุขวิทยา” ซึ่งเป็นปัจจัยที่ใช้บำรุงรักษาจิตใจ
2. มีปัจจัยเกี่ยวกับงานบางอย่าง เป็นสิ่งจูงใจหรือทำให้เกิดความพอใจในการทำงาน เรียกว่า “ปัจจัยจูงใจ” เป็นตัวกระตุ้นหรือจูงใจให้คนปฎิบัติงานให้ดีขึ้น




การศึกษาปัจจัยสุขวิทยา หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ปัจจัยค้ำจุน” จะช่วยป้องกันให้คนงานไม่เกิดความไม่พอใจในการทำงาน ส่วนปัจจัยจูงใจ จะทำให้คนงานมีความสุขหรือมีความพอใจในการปฎิบัติงาน ผู้บริหารจะต้องมีทัศนะที่เกี่ยวกับงานของผู้ใต้บังคับบัญชา 2 ประการ คือ สิ่งที่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสุขและสิ่งที่ทำให้เขาไม่มีความสุขในการทำงาน เฮิร์ซเบิร์ก ยังได้แนะนำวิธีปรับปรุงงาน การเพิ่มขยายงานและการหมุนเวียนสับเปลี่ยนตำแหน่งงาน




จากคำพูดที่ เฮิร์กเบิร์ก ได้กล่าวนั้นทำให้ข้าพเจ้าสรุปได้ว่า ปัจจุบันนี้มนุษย์มีการประกอบอาชีพมากมายหลากหลาย อาจแตกต่างกันไปตามความถนัดของแต่ละบุคคล ซึ่งมนุษย์ทุกคนย่อมต้องการอาชีพที่มั่นคง เป็นหลักเป็นฐาน มีค่าตอบแทนสูง มีความก้าวหน้า และเป็นที่ยอมรับทางสังคม เป็นที่นับหน้าถือตาในสังคม บางคนที่พอใจกับอาชีพ กับงานที่เป็นอยู่แล้ว แต่กลับไม่พอใจ ยังคิดที่จะกอบโกยผลประโยชน์จากผู้อื่น



(นางสาว สุรางคณา อรรถธรรม รปศ.531 เลขที่ 42)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น